top of page

 เกี่ยวกับโครงการ 

สถาบัน My Path to Learning and Culture (MPLC Thailand) ร่วมกับมูลนนิธิไม่แสวงหาผลกำไรแลกเปลี่ยนต่างประเทศ มุ่งมั่นส่งเสริมการศึกษาสำหรับเยาวชนไทย โดยสถาบันได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากองค์กรแลกเปลี่ยนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานการดำเนินงานจาก Council on Standards for International Educational Travel (CSIET) เพื่อดูแลนักเรียนแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด โครงการทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (Student Exchange Program) จัดขึ้นภายใต้กรอบความร่วมมือและนโยบายจาก Bureau of Educational and Cultural Affairs สหรัฐอเมริกา นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและเข้าร่วมโครงการจะได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนหรือทั้งหมด เพื่อเข้าร่วมเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนระดับมัธยมในต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปีการศึกษา โดยมีบทบาทเป็นยุวทูตจากประเทศไทย นักเรียนจะได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ฝึกฝนการปรับตัวกับวัฒนธรรมใหม่ๆ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้คนจากหลากหลายสังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ สถาบันยังได้รับความเชื่อมั่นจากองค์กรแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์ แคนาดา จีน ญี่ปุ่น ประเทศโซนยุโรปและ ประเทศอื่น ๆ ในการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน​

โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนระยะยาว (ระยะเวลา 1 ปีการศึกษา)

  • อายุ 14 - 17 ปี ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน (J) หากเป็นวีซ่านักเรียน (F) สามารถศึกษาต่างประเทศได้ตั้งแต่ 11 ปีขึ่นไป 

  • นักเรียนจะได้อยู่ภายใต้มูลนิธิต่างประเทศ ซึ่งเป็นโครงการทุนสมทบจากรัฐบาลต่างประเทศ นักเรียนต้องผ่านการสอบวัดระดับภาษาในการสอบชิงทุน

  • มีหลายประเทศที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีนและประเทศในโซนยุโรปทั้งหมด

  • นักเรียนจะต้องอาศัยอยู่กับครอบครัวอาสาสมัคร

  • นักเรียนจะได้เรียนอยู่ในโรงเรียนรัฐบาล

  • นักเรียนไม่สามารถเลือกครอบครัวอุปถัมภ์และโรงเรียนได้

  • สามารถนำใบเกรดมาเทียบชั้นเรียนได้ มีโรงเรียนไทยส่วนน้อยที่จะให้นักเรียนซ้ำชั้น

  • กรณีที่เรียนชั้น Year 12 เมื่อเรียนจบอาจจะไม่ได้รับใบประกาศนียบัตรจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา (High School Certificate) ขึ้นอยู่กับนโยบายของโรงเรียนที่นักเรียนไปเรียน ดังนั้นนักเรียนที่ไปแลกเปลี่ยนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะสอบ GED (General Education Development) สามารถเทียบวุฒิม.ปลายได้เพื่อที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ หรือสามารถเข้าร่วมโครงการ วีซ่านักเรียน (F) เพื่อรับประกันในการได้รับใบจบการศึกษาระดับมัธยม

  • นักเรียนจะต้องมีความประพฤติดี และไม่เป็นภัยต่อผู้อื่น

  • นักเรียนต้องไม่มีโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรง หรือภาวะจิตใจตกต่ำ

  • การออกวีซ่านักเรียนทุน (J-1) ออกได้ครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถออกซ้ำได้

  • นักเรียนไม่สามารถทำงานได้ในขณะที่เข้าร่วมโครงการ

S__371073029.jpg

ความคิดเห็นผู้ปกครองกับโครงการ

ตัวอย่างนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน

 

1. สามารถเลือกประเทศที่จะไปแลกเปลี่ยนได้ มีสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน และประเทศในโซนยุโรปทั้งหมดเช่น สวิสเซอแลนด์ นอร์เวย์ ออสเตรีย เยอรมัน ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เดนมาร์ค แคนาดา นิวซีแลนด์ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่นและอีกมากมาย

2. ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศ ตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา (Non-Profit Organization in USA) ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกลางของรัฐบาลอเมริกา (United States, Department of States) จัดตั้งโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนระดับมัธยมศึกษา (High School Exchange in USA) และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา จาก Council on Standards for International Educatius เป็นต้น เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ

3. ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิองค์กรแลกเปลี่ยนในต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลหลายองค์กร FTW, STS, FLAG, FORTE, SEA, ASPECT  ซึ่งมีประสบการณ์ในการดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนมาเป็นเวลายาวนานกว่า 35 ปี และร่วมมือกับโรงเรียนและสถาบันสอนภาษาในต่างประเทศอีกมากมาย

5. MPLC Thailand ก่อตั้งมามากกว่า 40 ปี ปัจจุบันมีรุ่นนักเรียนแลกเปลี่ยนมาแล้ว 29 รุ่น 

6. เราเป็นองค์กรแรกที่มีค่ายการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเราให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อม มากกว่าโครงการอื่นๆโดยมีกิจกรรมเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้


         6.1 คอร์สเตรียมความพร้อมการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน 1 เดือนเต็ม (อยู่ในค่าโครงการเรียบร้อยแล้ว)
         6.2 สอนวิชาประวัติศาสตร์และรัฐบาลอเมริกา / วรรณกรรมภาษาอังกฤษ / การพูดหน้าชั้น ซึ่งเป็นวิชาที่นักเรียนอาจต้องเรียนระหว่างเข้าร่วมโครงการ

 ทำไมถึงต้องมาแลกเปลี่ยนกับ MPLC 

speech.jpg
speech 2.jpg

6.3 กิจกรรมเตรียมความพร้อม เช่น Pyjamas Day, Prom Day, Costume Day เป็นต้น เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน
                    และทำให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก สิ่งนี้สามารถช่วยให้นักเรียนไม่เกิดอาการที่เรียกว่า การช็อคทางวัฒนธรรม (Cultures Shock)
                    เพราะท่างเราเห็นว่าเด็กไทยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กขี้อาย ซึ่งวัฒนธรรมต่างชาติส่วนใหญ่จะกล้าแสดงออกไม่เขินอาย 
6.4 กิจกรรมเสริมสร้างทักษะอื่น ๆ เช่น การปรับตัว การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง การคิดวิเคราะห์ การใช้เทคโนโลยีในการเรียน และอื่น ๆ อีกมากมาย

speech 3.jpg
speech 4.jpg

7. มีการปฐมนิเทศผู้ปกครอง และนักเรียนก่อนการเดินทาง ซึ่งการปฐมนิเทศจัดโดยตัวแทนโครงการในประเทศไทย อาจารย์เครือวัลย์ พูลภัทรชีวิน

และมีเจ้าหน้าที่จากองค์กรแลกเปลี่ยนต่างประเทศบินตรงเพื่อมาร่วมงาน ภายในงานมีรุ่นพี่ที่เพิ่งกลับจากการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนมาเล่าประสบการณ์ให้รุ่นน้องฟัง และมีกิจกรรมการแสดงจากนักเรียนแลกเปลี่ยนรุ่นปัจจุบัน และอื่นๆอีกมากมาย

speech 5.jpg
img5_edited.jpg

6.5 กิจกรรมงานพรอมส่งเลี้ยงรุ่นนักเรียนแลกเปลี่ยนและ Reunion มีรุ่นพี่และรุ่นน้องมาร่วมงานเต้นรำ พร้อมทำกิจกรรมเช่นเล่นเกมส์ เต้นดิสโก้ ประกวดพรอมคิงพรอมควีนและรางวัลอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งจัดขึ้นประมาณ 2/3 ปีต่อครั้ง 

img11_edited.jpg
speech%207_edited.jpg
speech 8.jpg
speech 8.jpg
img16.jpg

7. MPLC เป็นองค์กรขนาดกลาง มีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ มีใจรัก และดูแลนักเรียนอย่างทั่วถึง ในแต่ละปีมีนักเรียนประมาณ 60 - 70 คน
8. นักเรียนทุกคนจะมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดูแล คอยดูแลความเป็นอยู่และความปลอดภัย จัดหาครอบครัวอุปถัมภ์และโรงเรียนที่เหมาะสมตามเกณฑ์ขององค์กรแลกเปลี่ยนที่กำหนด
9. จากคำบอกเล่าของนักเรียนที่เคยเข้าร่วมโครงการกับ MPLC พูดถึง MPLC ว่าไม่เหมือนกับบริษัท แต่เป็นเหมือนบ้าน ที่มีพ่อ แม่ พี่ น้อง และเพื่อนๆ
   มีความเป็นกันเอง และอบอุ่น
10. ตัวแทนโครงการ อาจารย์เครือวัลย์ พูลภัทรชีวิน เมื่อครั้งเป็นนักเรียน เคยเป็นนักเรียนทุนแลกเปลี่ยนขององค์กร World Vision เช่นเดียวกัน
   อาจารย์ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กระทั่งจบปริญญาตรีสาขาจิตวิทยาเด็ก (Child psyhchology) ที่ University of Minnesota รวมเวลากว่า 10 ปี ทำให้อาจารย์รู้ และเข้าใจถึงขั้นตอนและการใช้ชีวิตการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับตัวเข้าหาสังคมใหม่ หรือการเปิดรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง     ทั้งนี้ลูกชายของอาจารย์ทั้ง 2 คน ก็เข้าร่วมโครงการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เหมือนคุณแม่ เช่นเดียวกัน รวมถึงที่ปรึกษาโครงการ ผศ. ดร. จุมพล พูลภัทรชีวิน จบการศึกษาปริญญาเอกจากครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้ทุนไปเรียนที่ University of Minnesota 

11. เรามีโครงการอื่นๆหลังจากผู้เข้าร่วมโครงการอื่นๆประสบความสำเร็จสิ้นสุดกับโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เช่นเรียนต่อต่างประเทศในระดับชั้นมัธยม ระดับมหาวิทยาลัย และโครงการฝึกงานในต่างประเทศเป็นต้น

บรรยากาศการค่ายนักเรียนแลกเปลี่ยน

 ครอบครัวอุปถัมภ์ 


นักเรียนแลกเปลี่ยน MPLC จะได้พักอาศัยอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ (Host Family) ของประเทศนั้นๆ ซึ่งครอบครัวอุปถัมภ์นี้ จะเป็นครอบครัวอาสาสามัครที่อาจมีพื้นเพเชื้อชาติที่ไม่เหมือนกัน พื้นฐานครอบครัวทางเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ทุกครอบครัวมีความสนใจและต้องการเรียนรู้ในวัฒนธรรมที่แตกต่างจากวัฒนธรรมประจำชาติของตน มีความพร้อมที่จะดูแลเยาวชนที่มาจากต่างชาติ ต่างภาษา และมีจิตอาสาที่จะช่วยเหลือรับเป็นครอบครัวให้กับนักเรียนแลกเปลี่ยน 

speech 11.jpg
speech 12.jpg


- ครอบครัวอุปถัมภ์จะต้องมีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป
- ครอบครัวที่อาจมีลูกในวัยใกล้เคียงกับนักเรียนแลกเปลี่ยน ครอบครัวที่ไม่มีลูกหรือลูกๆอายุมากแล้วและย้ายไปพำนักอาศัย อยู่ที่อื่นหรือมีสมาชิกญาติพี่น้องพักอาศัยอยู่ภายในบ้านด้วย เป็นต้น
- บางกรณี นักเรียนอาจจะต้องอยู่ร่วมห้องกันกับลูกที่มีเพศและวัยใกล้เคียงกัน (Host brother/ Host sister) หรืออยู่ร่วมห้องกัน กับนักเรียนแลกเปลี่ยนจากชาติอื่น (Double Placement)
- องค์กรต่างประเทศที่ MPLC ประสานงานด้วยจะมีหน้าที่ในการหาครอบครัวอุปถัมภ์ เมื่อหาครอบครัวอุปถัมภ์ให้นักเรียนได้ เจ้าหน้าที่ดูแลจะเป็นคนที่หาโรงเรียนบริเวณที่อยู่ของครอบครัวอุปถัมภ์ ในแต่ละครอบครัวจะต้องผ่านกระบวนการการถูกตรวจสอบอย่างละเอียดตัวอย่างเช่นประวัติอาชญากรรม (Criminal Background Check) การอ้างอิงจากคนรู้จัก (Reference) และตรวจสภาพที่อยู่ (Observation) เพื่อที่จะให้มั่นใจได้ว่าสามารถเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ที่เหมาะสมกับโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเยาวชนต่างชาติ และความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ

 การจัดหาและคัดสรรครอบครัวอุปถัมภ์ 

  


โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน เป็นโครงการพิเศษเป็นโครงการทุนสมทบจากรัฐบาลในแต่ละประเทศ ที่เน้นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และในแต่ละประเทศจะสามารถเข้าร่วมโครงการได้เพียง 1 ครั้ง ในขณะที่โครงการวีซ่านักเรียน (F) จะเป็นการเรียนแบบนักเรียนต่างชาติทั่วไป โดยใช้ทุนตนเองทั้งหมด


ลักษณะของวีซ่านักเรียน
1. นักเรียนจะได้เข้าเรียนในระดับชั้นต่อเนื่องจากระดับสูงสุดที่เมืองไทย ไม่มีการซ้ำชั้น ทั้งในโรงเรียนเอกชนและรัฐบาล
2. กรณีที่เรียนชั้น Year 12 เมื่อเรียนจบจะได้รับใบประกาศนียบัตรจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา [High School Certificate] และ Diploma
3. พักบ้านโฮมสเตย์ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างดี (ไม่ใช่อาสาสมัคร)
4. นักเรียนสามารถเข้าร่วมเล่นกีฬา หรือ กิจกรรมนอกเวลาเรียนได้ ไม่มีข้อจำกัด
5. สามารถเริ่มเรียนได้ทั้ง 2 เทอม คือ ในเดือนสิงหาคม หรือ มกราคม
6. หากต้องการเรียนต่อ ในปีการศึกษาต่อไป สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นย้ายโรงเรียน และไม่ต้องกลับมาขอวีซ่า

7. สามารเลือกโรงเรียนได้ เหมาะกับนักเรียนที่มีความต้องการแบบเจาะจงเช่น หลักสูตร ชื่อเสียง สภาพแวดล้อมของโรงเรียน เป็นต้น

 ความแตกต่างระหว่างวีซ่านักเรียนแลกเปลี่ยน (J) และ วีซ่านักเรียน (F)  

 


โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนเป็นจากรัฐบาลในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นในรูปแบบทุนสมทบ ตัวอย่างเช่น หากนักเรียนสนใจไปเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลา 1 ปี ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 1,000,000 บาทขึ้นไป แต่หากสอบชิงทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนจะได้ทุนสมทบ ทำให้ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ สามถึงสี่แสนบาทขึ้นอยู่กับประเทศขึ้นไปขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของแต่ละโครงการ

 ทุนสมทบคืออะไร 

ตารางทุนสมทบโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระยะยาว

ค่าโครงการแลกเปลี่ยน.png

สิ่งที่ไม่รวมในค่าสมทบทุนโครงการ

  1. ค่าตั๋วเครื่องบินและค่าธรรมเนียมสนามบิน: รวมถึงค่าภาษีสนามบินและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าระวางสัมภาระและค่าปรับจากสายการบิน ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ในการจัดหาและประสานงานเที่ยวบินให้กับนักเรียน เพื่อความสะดวกในการดูแล อย่างไรก็ตาม ราคาตั๋วเครื่องบินอาจเปลี่ยนแปลงได้หากผู้ปกครองชำระล่าช้าตามเงื่อนไขของสายการบิน

  2. ค่าธรรมเนียมวีซ่า: รวมถึงค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการขอวีซ่า เช่น ค่าแปลเอกสารประกอบการยื่นขอวีซ่า

  3. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว: ค่าใช้จ่ายสำหรับซิมโทรศัพท์ ค่าเดินทางไป-กลับโรงเรียน ค่าโทรศัพท์ ค่ากิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน ค่าเอกสาร หนังสือเรียน อาหารกลางวัน (เฉพาะบางโรงเรียน) ค่าลงทะเบียนสอบ ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น
     

สิ่งที่รวมในค่าสมทบทุนโครงการ

  1. ค่าธรรมเนียมโครงการเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ 1 ปีการศึกษา

  2. การประชุมเตรียมข้อมูลให้กับผู้ปกครองและนักเรียนก่อนการลงทะเบียน

  3. การให้คำปรึกษาและการดูแลอย่างใกล้ชิด: โดยทีมงานผู้มีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตต่างประเทศ เคยเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนมาก่อน และมีความรู้เชี่ยวชาญ จบการศึกษาทางด้านการศึกษาโดยตรงหรือเกี่ยวข้อง

  4. ค่ายเตรียมความพร้อมการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน: นักเรียนจะได้เรียนวิชาที่อาจต้องเรียนระหว่างเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเช่น วัฒนธรรมต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ รัฐบาลอเมริกา วรรณกรรมภาษาอังกฤษ การพูดหน้าชั้น เป็นต้น และกิจกรรมมากมายเพื่อพัฒนาทักษะการปรับตัว การกล้าแสดงออก การแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ สื่อสารข้ามวัฒนธรรม ทักษะทางสังคม และอื่น ๆ ตลอด เดือนตุลาคมและเมษายน 10:00 - 12:00 และ 13:00 - 15:00 วันจันทร์ถึงศุกร์ กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน

  5. การปฐมนิเทศสำหรับนักเรียนและผู้ปกครองก่อนออกเดินทาง

  6. เสื้อโครงการ MPLC

  7. ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ

  8. การรับ-ส่งสนามบินในต่างประเทศ

  9. การพักอาศัยกับครอบครัวอุปถัมภ์: ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากองค์กรแลกเปลี่ยน

  10. การดูแลและช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงในต่างประเทศ

  11. การประสานงานการลาพักการศึกษาและคำแนะนำหลังสิ้นสุดโครงการ

  12. ประกาศนียบัตรหลังจบโครงการ

  13. การปัจฉิมนิเทศและแนะแนวการศึกษาต่อ: สำหรับทุนการศึกษาและโอกาสต่างๆ หลังกลับประเทศไทย

  14. กิจกรรมงานเต้นรำพรอมอำลารุ่น และ Reunion (จะเกิดขึ้นประมาณ 2 ปีครั้ง)

IMG_7677.JPG

เปิดรับสมัครสอบ
นักเรียนแลกเปลี่ยน
 
รุ่นที่ 29

คุณสมบัติผู้สมัคร

ระยะยาว: อายุ 13 - 17 ปี

ระยะสั้น: 12 - 22 ปี

 

bottom of page